ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์
(Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง
ที่จะสั่งและควบคุมให้ฮาร์ดแวร็คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถจับต้อง ซอฟต์แวร์
ได้โดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์ดแวร์
เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น
แผ่นดิสก์ ซอฟต์แวร์
ที่มักติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำงานทันที่ที่เปิดเครื่องคือ
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ สรุปแล้ว ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมชุดคำสั่งไวควบคมคอมฯให้ทำงาน
ชนิดของซอร์แวร์
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System
Software) คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์
ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์
และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต
การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม
และมีความสามารถในการยืดหยุ่นการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
-
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง
ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์
การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ
หากจะทำงานใดงานหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงานแล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน
ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้
ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ DOS Unix
Windows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000
NT) Sun OS/2 Warp Netware และ Linux
- ตัวแปลภาษาจาก
Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์ใจให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ
เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อนแล้วทำการลิ้ง (Link)
เพื่อให้ได้คำส่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่งแล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น
การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้นจะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น
ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาโคบอล
(Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น
-
ยูทิลิตี้โปรแกรม (Utility Program) คือ
ซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์
ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่โปรแกรม Norton
WinZip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น
-
ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่า
ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setup และ Driver
ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Windows Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound Driver CD-ROM Driver Printer Driver Scanner
ฯลฯ เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ
โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากรในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ
เมื่อออบแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ
แล้วทำงการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี
ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของการรถไฟ ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร
ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย ซอฟต์แวร์ของการบินไทย
ซอฟต์แวร์บริหารการศึกษาเป็นต้น
4.การเลือกใช้ซอฟแวร์ประยุกต์
1.สำรวจงานที่ผู้ใช้งานซอฟแวร์ต้องการใช้ซอฟแวร์อย่างละเอียดว่ามีลักษณะงานแบบใด
2. สำรวจฮาดแวร์และระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง ความจุของหน่วยความหลัก ความจุของหน่วยความจำรอง และความจุของการ์ดแสดงผล
3.ทดลองใช้ซอฟแวร์อย่างน้อย ๑๕ นาที เพื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้งานโดยใช้งานง่าย ไม่มีข้อผิดพลาด มีระบบความช่วยเหลือ มีคู่มือการใช้งานที่อ่านเข้าใจง่าย
4.ศึกษาเปรียบเทียบกับซอฟแวร์ที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ
5.ศึกษาข้อมูลบริการหลังการขายและระยะเวลาในการรับประกัน
6.ทำความคุ้นเคยกับการใช้ซอฟแวร์ประมาณ๑สัปดาห์ ก่อนนำไปใช้งานและควรเลือกบริษัทผู้ผลิตซอฟแวร์ที่เปิดโอกาศให้คืนซอฟแวร์ที่ซื้อไปไม่น้อยกว่า 30 วัน
7.การจัดหาซอฟแวร์เพื่อมาใช้ในบ้าน
##################################################
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น